อุทยานดอยจง มั่นคงวัฒนธรรม งามล้ำน้ำตกแม่ไซงู เชิดชูบ่อน้ำทิพย์ อ่างนับสิบรอบเมือง ฟูเฟื่องเรื่องดินขาว พร่างพราวปลาหลากพันธุ์
ประวัติอำเภอสบปราบ
ในสมัยโบราณพม่าได้ยกกองทัพมาโจมตีไทยตามหัวเมืองต่างๆได้มีกองทัพพม่ามาตั้งค่าย ที่บ้านสบปราบและมีคนไทยในท้องที่สบปราบรวบรวมพลังขึ้นต่อต้านพม่า เมื่อสบโอกาสก็เข้าโจมตีพม่าพร้อม ๆ กัน ณ ที่บ้าน สบปราบในที่สุดพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายไปในสถานที่แห่งนี้ จึงได้เรียกว่า “ บ้านสบปราบ “ ซึ่งแปลได้ว่าได้มาพบข้าสึกและได้โจมตี ข้าสึกพ่ายไป หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า“ สบ “ หมายถึง ที่ที่ลำห้วยไหลมาบรรจบกับกับแม่น้ำใหญ่ ตามคำเรียกของคนพื้นเมืองเหนือ คำว่า ” สบปราบ “
คือสถานที่ลำห้วยแม่ปราบไหลมาบรรจบกับแม่น้ำวังตรงจุดนี้เมื่อราษฎรได้รบพุ่งชนะข้าศึกแล้วก็ได้สร้างหลักฐาน สร้างบ้านเรือนอยู่
สถานที่นั้นตลอดมาและมีประชากรจากบ้านเมืองอื่นอพยพเข้ามาทำมาหกกินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ดังเช่นปัจจุบันประมาณปี 2460 ได้มีการตั้งเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อจังหวัดลำปางและมาอีกชั่วระยะหนึ่งได้มีการยุบเป็นกิ่งอำเภอสบปราบ
ขึ้นต่ออำเภอเกาะคาเรื่อยมาจนกระทั่งปี 2496 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอสบปราบตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเสริมงาม อำเภอเกาะคา และอำเภอแม่ทะ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวังชิ้น (จังหวัดแพร่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเถิน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเถินและอำเภอเสริมงาม
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอสบปราบแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 46 หมู่บ้าน ได้แก่
- ต.สบปราบ จำนวน 15 หมู่บ้าน
- ต.สมัย จำนวน 13 หมู่บ้าน
- ต.นายาง จำนวน 10 หมู่บ้าน
- ต.แม่กัวะ จำนวน 8 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอสบปราบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสบปราบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสบปราบ
- องค์การบริหารส่วนตำบลสบปราบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสบปราบ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสบปราบ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสมัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมัยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กัวะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนายาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายางทั้งตำบล